วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

สีกับการสื่อความหมาย

           หลาย ๆ ท่านคงเคยเข้าร่วมประชุม  สัมมนาหรือการอบรมที่มีการฉายภาพประกอบการประชุมหรือการบรรยาย โดยโปรแกรมที่ใช้นำเสนอส่วนใหญ่คือโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint และคงจะเคยมีความรู้สึกขัดตากับแผ่นภาพที่อ่านไม่ออก  มองไม่ชัด  หรือลานตาไปกับองค์ประกอบของแผ่นภาพ สาเหตุหนึ่งคือการใช้สีตัวอักษร  สีพื้นที่อ่านยากหรืออ่านไม่ออกเสียที่เดียว  นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายประการซึ่งจะไม่กล่าวถึง  แต่จะนำแนวทางการใช้สีในการสื่อความหมายมานำเสนอเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผ่นภาพหรือป้ายต่าง ๆ

           ความสำคัญของสี
           สีมีความสำคัญต่อการออกแบบโดยเฉพาะงานกราฟฟิก คือ ช่วยให้อ่านง่าย เน้นความสำคัญของข้อมูล ช่วยให้ระลึกถึงได้โดยง่าย ช่วยจัดหมวดหมู่ เพิ่มมิติให้กับงานกราฟฟิก สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น รวมถึงสร้างความแตกต่างให้เห็นชัดเจน

           การใช้สีกับการมองเห็น
           การใช้สีเป็นคู่สีเพื่อให้สามารถอ่านได้ง่ายนั้น  สามารถเรียงลำดับจากอ่านได้ง่ายไปยังอ่านได้ยาก ดังต่อไปนี้
                                           

         คู่สีที่นำเสนอข้างต้นหากนำไปเป็นข้อพิจารณาเพื่อจัดทำป้าย   อาจต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์และความเหมาะสมของป้ายประกอบด้วยเพราะบางครั้งอาจทำให้มองเห็นได้ชัดเจน  แต่เด่นจนทำลายความงามหรือความสงบของพื้นที่ได้

         ส่วนคู่สีที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ


         สี กับผลกระทบทางจิตวิทยา
               สีต่าง ๆ ยังมีผลกระทบทางจิตวิทยา ดังนี้



         สี กับการแปลความหมาย
             สีมีผลต่อการแปลความหมาย คือ


   
        สี กับความรู้สึกเกี่ยวกับขนาด
              สีอ่อนจะให้ความรู้สึกกว้างไกลกว่าสีเข้ม   สีมืดทำให้รู้สึกแคบและเล็กลง ทำให้ดูมีน้ำหนักกว่าสีอ่อน



        สี กับความรู้สึกเกี่ยวกับระยะใกล้ไกล
               เมื่อนำสีแท้มาเปรียบเทียบกัน  สามารถให้ความรู้สึกในเรื่่องของระยะได้ 3 ระยะ คือ
                                            ระยะหน้า             เหลือง    ส้ม       แดง
                                            ระยะกลาง           ส้ม          แดง     เขียว      น้ำเงิน
                                            ระยะหลัง             ม่วง        ม่วงน้ำเงิน


ลองนำไปปรับใช้กับการทำ presentation หรือแผ่นป้าย (Signage) เพื่อการสื่อสารดู

(ข้อมูลจากหนังสือ แนวทางการจัดการป้ายในพื้นที่วัฒนธรรม จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม,2552)

ไม่มีความคิดเห็น: