วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

อักษรกับการนำเสนอ


                 การทำ presentation หรือแผ่นป้าย (Signage) เพื่อการสื่อสารจะสื่อความหมายให้คนทั่วไปเข้าใจไม่ได้อย่างแน่นอนถ้าไม่มีอักษรหรือตัวหนังสือเป็นองค์ประกอบ วันนี้จะขอเขียนถึง "อักษร" หลังจากว่างเว้นการนำเสนอไปหลายเพ-ลา เนื่องจากเดินทางไปเชียงใหม่ พะเยา เชียงรายหลายวัน
                     การใช้อักษรในการนำเสนอหรือการทำป้ายมีหลักการง่าย ๆ คือ
                     1. รูปแบบอักษร
                         รูปแบบอักษรมีผลต่อความรู้สึกและความยากง่ายในการอ่าน จึงต้องพิจารณาและเลือกรูปแบบให้ดี  วิธีเลือกรูปแบบง่าย ๆ คือพิมพ์แล้วให้เพื่อน ๆ อ่าน ถ้าเพื่อนอ่านออกอย่างไม่ลำบากนักก็ถือว่าใช้ได้ 

ตัวอย่าง

         
                      2. ความหนาบางของตัวอักษร
                          มีผลต่อการเน้นย้ำข้อความสำคัญ หรือใช้กับหัวข้อหลัก

ตัวอย่าง

              
                     3. การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ
                         ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่จะเป็นการเน้นย้ำได้ แต่หากเป็นประโยคจะอ่านยากกว่า

ตัวอย่าง

     
                      4. ระยะห่างหรือช่องไฟ
                          ช่องไฟที่ห่างกว่าจะให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายกว่า

ตัวอย่าง


                       5. รูปร่างตัวอักษร
                            ให้ความรู้สึกที่ต่างกัน เช่น รูปร่างแหลม ให้ความรู้สึกถึงพลังและความรวดเร็ว  ตัวกลม ๆ ให้ความรู้สึกนุ่มนวลเชื่องช้า เป็นต้น

ตัวอย่าง



                   การเลือกใช้อักษรแบบใดนั้น ต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายในการใช้งานประกอบจึงจะทำให้การสื่อความหมายชัดเจน  สำหรับอักษรในแผ่นป้ายนอกจากพิจารณาจุดมุ่งหมายแล้วคงต้องดูพื้นที่ด้วย เช่น ป้ายที่ค่อนข้างเป็นทางการอย่างเช่นป้ายชื่อสถานที่ราชการคงจะต้องใช้ตัวอักษรแตกต่างจากป้ายกิจการห้างร้านที่มีอิสระพอสมควรในการเลือกอักษร  
                     

   
(ข้อมูลจากหนังสือ แนวทางการจัดการป้ายในพื้นที่วัฒนธรรม จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ  กระทรวงวัฒนธรรม,2552)

ไม่มีความคิดเห็น: